บทความ

บทความน่าสนใจ

ธรณีวิทยา

ธรณีวิทยา (Geology) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้ง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทรัพยากรแร่

ทรัพยากรแร่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยกระบวนการทางธรณีวิทยา ซึ่งเกิดภายในโลก และบนผิวโลก ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ค่อนข้างหลากหลาย มีความอุดมสมบูรณอยู่มากกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกันแร่และหินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิติของมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย การนำแร่มาใช้ประโยชน์นั้น มีมาตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการของมนุษย์แล้ว โดยระยะแรกจะใช้ประโยชน์จากแร่และหินโดยตรงเพียงไม่กี่ชนิดเพิ่อการอุปโภคบริโภค และทำเครื่องใช้สอยต่างๆที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเท่านั้น ต่อมาการใช้ประโยชน์จากแร่ค่อยๆ ยิ่งทวีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ขึ้นตามลำดับ เป็นวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ที่อยู่อาศัยยารักษาโรค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

ธรณีพิบัติภัยและสิ่งแวดล้อม

ธรณีพิบัติภัยในประเทศไทย 🚨 ❓ รู้หรือไม่….ธรณีพิบัติภัยในประเทศไทยมี 5 ประเภท❗️ 1.ดินถล่ม (Landslide) 2.หลุมยุบ (Sinkhole) 3.แผ่นดินไหว (Earthquake) 4.สึนามิ (Tsunami) 5.การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล (Coastal Change) ธรณีพิบัติภัย (อังกฤษ: geohazard) หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หลุมยุบ ดินถล่ม หิมะถล่ม ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในอดีตอันยาวนาน ซึ่งถูกเก็บรักษาอยู่ในชั้นหินเปลือกโลกโดยวิธีทางธรรมชาติ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า fossil ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า fossus แปลว่า ถูกขุดขึ้นมา การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่าวิชาบรรพชีวินวิทยา (Paleontology) หรือ โบราณชีววิทยา (Paleobiology) และผู้ที่ศึกษาด้านนี้ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิทยา (Paleontologist) หรือ นักโบราณชีววิทยา (Paleobiologist) ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ในหินตะกอน เช่น หินดินดาน หินทราย หรือหินปูน ทั้งที่พบโดยธรรมชาติ จากการกัดเซาะของน้ำ ลม หรือบริเวณที่มีทางน้ำไหลผ่าน หรือริมชายฝั่งทะเล และในบริเวณที่มีการกระทำของมนุษย์


ประชาสัมพันธ์

เปิดอบรมหลักสูตร เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายพร้อมใบประกาศนีย์บัตร หลักสูตร ดังนี้ ❗️❗️❗️

หลักสูตร 

#DMR01 ธรณีวิทยาน่ารู้ สำหรับ ป.1-ป.6

#DMR02 กำเนิดไดโนเสาร์ สำหรับ ป.1-ป.6 

 

 



รายวิชาทั้งหมด


LEARN ANYTIME, ANYWHERE

Enjoy our free online courses, wherever you are and whenever you want. Access course content on mobile, tablet or desktop.